วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124ตอนที่ 47 ก หน้า ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/3/32/2007_Thai_constitutional_referendum_chart.png/220px-2007_Thai_constitutional_referendum_chart.png
http://bits.wikimedia.org/static-1.22wmf22/skins/common/images/magnify-clip.png
ผลการออกเสียงประชามติ
เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำเนินไปบนความร้อนแรงทางการเมือง มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง และให้นิรโทษกรรม คมช. เองที่ก่อรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ มาตรา 190)















โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญทุกฉบับตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากเมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญไปแล้ว ก็จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ในเวลาต่อมาทันที ยังผลให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรมากถึง 18 ฉบับ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระพุทธศักราช 2550 นั้น ได้ยึดโครงสร้าง หลักการ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญแต่ได้มีการเพิ่มเติมและแก้ไขบางส่วน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชฮาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระพุทธศักราช 2550 ประกอบด้วย 15 หมวด 1 บทเฉพาะกาล และ 309 มาตรา ซึ่งบางหมวดได้คงไว้ตามหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 เช่น หมวด 1 ว่าด้วยบททั่วไป และ หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ แต่บางหมวดก็ได้มรการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนใหญ่คงสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 แต่เพิ่มให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิเสรีภาพตามข้อเสนอของกรรมาธการยกร่างรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น

.2. หมวด7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิโดยตรงของประชาชนในเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฏหมาย การเข้าชื่อถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

3. หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดความเป็นอิสระในการเสนอร่างกฏหมายและความเป็นอิสระในทางการเงินเพิ่มขึ้น โดยองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาบัญญัติรวมไว้ในหมวดเดียวกัน และปรับปรุงใหม่ตามมติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดฐานะขององค์กรให้ชัดเจน โดยแยกเป็นป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินกับองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4. หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อตรวจสอบและควบคุมบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐให้มีการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรมโดยใช้กระบวนการการตรวจสอบทรัพย์สิน การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์การถอดถอนจากตำแหน่ง
5. หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมื่องและเจ้าหน้าที่ การควบคุมเพื่อให้มีการปฏบัติตามจริยธรรมที่กำหนด รวทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่รัฐ เพื่อคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฏหมาย

อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 ก็มีโครงสร้างและหลักการบางอย่างมี่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชฮาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เช่น การกำหนดเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 ได้ใช้ขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตเป็นหลัก จึงได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราชราษฏรไว้แตกต่างกันตั้งแต่ 1-3 คน แตกต่างจากการกำหนดเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้เพียงคนเดียวต่อเขต










                     หลักกาสำคัญที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ
         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เกิดขึ้นบนสถานการณ์ที่จะต้องนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ โดยมุ่งที่จะขยายสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนที่มีส่วน ร่วมทางการเมืองไว้ ดังนี้

1) 
ศาล ศาลเป็นองค์กรของผู้ใช้อำนาจตุลาการ ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีศาล ประเภท คือ
     1. 
ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณา วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดหรือการกระทำใด ๆจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
     2. 
ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิพากษาคดีทั่วไปที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนในกรณีที่เกิดข้อพิพาทกันไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เพราะเมื่อเกิดข้อขัดแย้งกันขึ้น คู่พิพาทจะต้องให้ผู้เป็นกลางเป็นคนตัดสินให้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและจะเป็นผู้ตัดสินตามตัวบทกฎหมาย
     3. 
ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำในทางปกครอง
     4. 
ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่น ๆให้เป็นไปตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ ซึ่งคดีอาญาทหาร หมายถึง คดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหาร

2) 
คณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหาราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี คนและคณะรัฐมนตรีอีก 35 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
     1. 
นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้นำชื่อเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งและประธานสภาลงนามเป็นผู้สนองพระราชโองการ
     2. 
รัฐมนตรี คือบุคคลที่นายกรัฐมนตรีพิจารณาเลือกให้เข้ามาทำงานร่วมกัน เรียกว่า คณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นบุคคลใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมดกำหนด เช่น มีสัญญาติไทยโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น

3) 
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีองค์กรอิสระซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หลายองค์กร เช่น
     1. 
คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ประกอบด้วยประธานกรรมการการเลือกตั้ง คน ปละกรรมการอีก คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
     2. 
คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ไต่สวน และสรุปสำนวนข้อเท็จจริง พร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนข้าราชการระดับสูง หรือนักการเมืองออกจากตำแหน่ง และการดำเนินคดีทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาและแผนก คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งไต่สวนวินิจฉัยกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวย ผิดปกติ เป็นต้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1คนและกรรมการอีก คน โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
     3. 
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะให้เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่เป็นอิสระ ซึ่งประกอบด้วยประธาน คนและกรรมการอีก 6คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทางแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจ เงินแผ่นดิน บัญชี ตรวจสอบภายใน การเงิน การคลัง และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
     4. 
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหน้าที่พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่ข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชน ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกทั้ง รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นประจำทุกปี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนไม่น้อยกว่า คน โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาและจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน
     5. 
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน ตรวจสอบแล้วรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอมาตรการแก้ไขต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลตลอดจนเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ดีขึ้น

4) 
ประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการมีส่วนรวมทางการเมืองของประชาชนไว้หลายอย่าง เพราะถือว่าประชาชนเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่มีสิทธิกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศไทย มิใช่เพียงแค่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาในวันเลือกตั้งเท่านั้น แต่ประชาชนยังมีส่วนร่วมทางการเมือง ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
     1. 
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่พวกเขาร่วมเสนอเข้ามา ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ
     2. 
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้มีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด หากมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
     3. 
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงประชามติ ในกรณีที่มีการให้ออกเสียงประชามติ เพื่อแสดงความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น






แนวทางการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
1.อ่านรัฐธรรมนูญอย่างเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2.เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ
3.ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้บริหารทุกระดับอย่างใกล้ชิด
4.ให้กำลงใจและสนับสนุนนักการเมืองที่ดีและพรรคการเมืองที่ดี
5.เคารพสิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกัน เคารพในเกียรติ ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ รวมทั้งปฏิบัติตนต่อผู้อื่น อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน
6.ยึดหลักเหตุผลเป็นสำคัญ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพล ของผู้มีอำนาจ
7.เสียสละแก่ประโยชน์ส่วนรวม เสียสละมีน้ำใจแบ่งปันให้ความร่วมมือ ช่วยเหลืออาสาในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมตามความสามารถของตน การดูแลรักษา สาธารณสมบัติ  ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.มีความรับผิดชอบ ประพฤติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ยึดมั่นในการทำความดี ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของสังคม  มีความรับผิดชอบในหน้าที่และการกระทำของตนเอง







บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พอสรุปโดย สังเขป ดังนี้
รัฐสภา
1.      รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
2.      ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานสภา ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
3.      ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
4.      ให้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา99 จำนวน 100 คน อยู่ในตำแหน่งวาระละ ปี
5.      พระ มหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ภายใน60 วัน
6.      ประชาชนมีสิทธิเสมอกันในการเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
7.      มติของสภาให้ถือตามเสียงข้างมากคือ จำนวนเสียงที่ลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่ร่วมประชุม อยู่ในสภานั้น
8.      ในแต่ละปีให้มีการเปิดสมัยประชุม ครั้ง ครั้งละ 120 วัน






คณะรัฐมนตรี
1.      พระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี คน แต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และรัฐมนตรี 35 คน ซึ่งอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่เป็นก็ได้
2.      ประธาน รัฐสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูล เกล้าเสนอ
3.      รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ และหากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องลาออกภายใน 30 วัน
4.      ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา
5.       รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
  •  มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
  •  มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
  •  สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  •  ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง
  • ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วยังไม่เกิน ปี นับถึงวัน ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
      6. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เมื่อ
  •   สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุเมื่อครบวาระ ปี หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
  •   คณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ
  •   ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
      7. รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว เมื่อ
  • ตายหรือลาออก
  • ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
  • สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นการเฉพาะตัว
  • ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตามความผิดที่กระทำไปในขณะดำรงตำแหน่ง

ศาล
1.      การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาล
2.      ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรม
3.      ศาล รัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานรัฐธรรมนูญ คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
4.      ถ้า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญนั้นมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือเป็นอันตกไป
5.      ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น
6.      ศาลยุติธรรมมี ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
7.      ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น










บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมือง การเลือกตั้ง รัฐบาล และการจัดตั้งรัฐบาล
พรรคการเมือง
พรรคการเมือง หมายถึง องค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และมีเป้าหมายเพื่อได้อำนาจทางการเมืองในรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ส่วนมากจะเป็นผลรวมของความต้องการภายในพรรค ซึ่งเมื่อพิจารณาสมาชิกพรรคแต่ละคนแล้ว อาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ หรือหัวหน้าพรรค ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล และตามธรรมเนียมปฏิบัติ หัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากก็มักจะได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ความหมายของพรรคการเมืองมีมากมาย แต่โดยส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกันอยู่สามประการ ดังนี้ 
๑. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน
๒. มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
      ในแนวทางกว้างๆคล้ายๆกัน
๓. มีวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งอำนาจมหาชน และใช้อำนาจนั้นดำเนินการหรือบริหารประเทศให้บรรลุ
      วัตถุประสงค์ข้างต้น ลักษณะประการนี้สำคัญยิ่งเพราะโดยธรรมชาติในสังคมอาจมีการรวมตัวกันของ
     บุคคล ที่มีความคิดเห็นคล้ายกันเข้าด้วยกัน หากแต่ถ้ากลุ่มดังกล่าวไม่ประสงค์จะเข้ามาบริหารประเทศ
     แล้ว ย่อมไม่ใช่พรรคการเมือง อาจเป็นสหภาพแรงงาน สมาคม หรือมูลนิธิเท่านั้น โดยสรุป ความหมาย
     ของพรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกันโดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกัน
     โดยกลุ่มดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เข้าเป็นรัฐบาลเพื่อ
      ดำเนินการตามอุดมการณ์ของตนให้สัมฤทธิ์ผล


-บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
           พรรคการเมืองมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในกระบวนการทางการเมืองแบบ ประชาธิปไตย หากพรรคการเมืองใดทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศนั้นก็จะบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วหน้าที่และบทบาทของพรรคการเมืองได้แก่
           1. การให้การศึกษาทางด้านการเมืองแก่ประชาชน พรรคการเมืองจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและสนใจในปัญหา ของบ้านเมืองมากขึ้น รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทของตนเองเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง การให้การศึกษาด้านการเมืองแก่ประชาชน สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ เช่น จัดอบรม จัดสัมมนา อภิปราย แจกจ่ายเอกสารหรือให้ความรู้ผ่านทางสื่อต่าง ๆ
            2. การสร้างผู้นำทางการเมือง โดยการคัดเลือกหรือสรรหาบุคลากรทางการเมืองมาเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ เช่น การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อเข้าไปบริหารประเทศทั้งในระดับท้องถิ่นและ ระดับรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบทอดภารกิจ อุดมการณ์ หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมืองในอนาคต พรรคการเมืองจึงควรให้ความสำคัญต่อการสร้างผู้นำทางการเมืองที่มีความเพียบ พร้อมทั้งคุณธรรมและความรู้ความสามารถเพื่อรับใช้สังคมโดยส่วนรวม
             3. กระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ด้วยการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเสียง และจัดตั้งสโมสรหรือชมรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจทางการเมือง
             4. การเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานระหว่างประชาชน กลุ่มประชาชน หรือกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจและประสานการทำงานในสังคมร่วมกัน ตลอดจนการปลุกเร้าประชาชนให้เกิดความตื่นตัวทางการเมือง และเป็นช่องทางให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองต่อไป
             5. เป็นช่องทางของประชาชนในการแสดงออก อันจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนได้
                6. การกำหนดนโยบายหลักที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ในการบริหารและปกครองประเทศ
             7. ถ้ายังไม่มีโอกาสบริหารประเทศ พรรคการเมืองก็จะทำหน้าที่แทนประชาชนในการเรียกร้องหรือกดดันให้รัฐบาลสนอง ตอบในแนวทางที่เห็นว่าเหมาะสม
8.      ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลเมื่อได้รับเสียงข้างมาก และทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านหรือผู้ควบคุมรัฐบาลเมื่อได้รับเสียงข้างน้อย
การเลือกตั้ง
                การเลือกตั้ง คือ การเลือกสรรบุคคล ให้เป็นผู้แทนหรือดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง โดยการออกเสียงลงคะแนน การเลือกตั้งเป็นวิธีการสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชน ประเทศไทยเริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ วันที่ 15พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 แต่ไม่ได้จัดให้มีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการรัฐประหารที่ผู้นำใช้ระบอบเผด็จการมาปกครองประเทศ โดยไม่จัดให้มีการเลือกตั้ง การเลือกตั้งในประเทศไทยเคยมีมาก็มีลักษณะแบบประชาธิปไตย คือ ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความสะดวก ตลอดจนหลักประกันในการใช้สิทธิใช้เสียง และเป็นการเลือกตั้งโดยตรง คือ ประชาชนเลือก สส. ยกเว้นการเลือกตั้งครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คือ ประชาชนเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลไปเลือก สส. อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งที่มีมาเคยใช้ทั้งรวมเขตและแบ่งเขต ระยะหลังมีแนวโน้มที่ใช้ระบบผสมคือ จังหวัดใดที่มี สส. จำนวนมาก ก็ใช้วิธีแบ่งเขต โดยการกำหนดจำนวนประชากรสูงสุดที่เขตหนึ่งพึงมีเอาไว้ เกินจากนั้นต้องใช้วิธีแบ่งเขต ส่วนการลงคะแนนเสียงนั้น ในอดีตมีจำนวนผู้ไปลงคะแนนมักจะไม่ถึงครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ แต่ในระยะหลังมีแนวโน้มดีขึ้น คือ มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ ร้อยละ 60 แต่การเลือกตั้ง สส. ของไทยก็ยังมีจุดอ่อนที่มีการซื้อเสียง และใช้เงินในการหาเสียงเกินกว่าที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนดไว้ ทำให้วิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าผู้ได้รับการเลือกตั้งไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน ที่แท้จริง และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนก็เป็นการเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้แก่นายทุน และนักธุรกิจ แทนที่จะเป็นประชาชน
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
        การเลือกตั้งจะบรรลุจุดหมายและมีความสำคัญ ต้องประกอบด้วยหลักการ ต่อไปนี้
          1. 
หลักการเลือกตั้งอิสระ ได้แก่ การให้อิสระแก่ประชาชนได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการเลือกพรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้งก็มีสิทธิที่จะเลือกสังกัดพรรคการเมืองที่ตนชอบหรือ เลื่อมใสศรัทธา โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ด้วยการลงคะแนนลับ นับคะแนนเปิดเผยแต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
          2. 
หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา ได้แก่ การเลือกตั้งที่มีการกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เช่น จัดให้มีการเลือกตั้งทุก ปี ปี หรือ ปี แล้วแต่กรณีและแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทยกำหนดให้ สส.อยู่ในตำแหน่งวาระละ ปี ปกติจึงต้องมีการเลือกตั้ง สส.ทุก 4ปี
          3. 
หลักการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ได้แก่ การเลือกตั้งที่ใช้กระบวนการตามกฎหมาย ไม่มีการละเมิดกฎหมาย เช่น การคดโกง การใช้อิทธิพลทางด้านการเงิน การใช้อำนาจหน้าที่บีบบังคับโดยมิชอบ ซึ่งอาจกระทำเพื่อประโยชน์ตนเองหรือหมู่คณะก็ได้
          

         4. หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค ได้แก่ การใช้สิทธิในการเลือกตั้งแก่ประชาชนโดยเท่าเทียมกันไม่มีการกีดกันหรือ กำจัดสิทธิบุคคล หรือให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เพราะความแตกต่างทางฐานะ เศรษฐกิจ สังคม เพศ ผิวพรรณ การศึกษา แต่ให้ทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้คนละหนึ่งเสียงและทุกเสียงต่างมีน้ำหนัก เท่ากัน
          5. 
หลักการออกเสียงทั่วไป ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึง เว้นแต่กรณีที่มี
ข้อจำกัดอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เช่น บุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 18 ปี บริบูรณ์ ผู้วิกลจริตหรือจิตบกพร่อง
ผู้เป็นนักพรต นักบวช นักโทษ เป็นต้น
          6. 
หลักการลงคะแนนอย่างสะดวก ได้แก่ จัดกระบวนการให้ประชาชนลงคะแนนเสียงโดยสะดวกด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้ง มี หน่วยลงคะแนนเลือกตั้งใกล้บ้าน ใช้บัตรลงคะแนนที่กาเครื่องหมายได้ง่าย มีเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายรัฐบาล และเอกชนร่วมกันอำนวยความสะดวก และประกาศผลได้รวดเร็ว
 

 วิธีการเลือกตั้งของไทย
1. แสดงบัตรประจำประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ที่หน่วยเลือกตั้ง
2. 
รับบัตรเลือกตั้งทั้ง แบบ (บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ใบ และบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ใบ)
3. 
พิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือขวาที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง ใบ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว
(ถ้ามีการร้องเรียนว่าที่หน่วยเลือกตั้งนั้นมีการทุจริตการเลือกตั้ง ต้นขั้วนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญในการตรวจสอบ)
4. 
เข้าคูหา ทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรเลือกตั้ง
    -  
กากบาทเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงหมายเลขเดียว ที่บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
    -  
กากบาทเลือกพรรคการเมืองเพียงหมายเลขเดียว ที่บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
    -  
ถ้าไม่ต้องการลงคะแนนให้ใคร หรือพรรคการเมืองใด กากบาทที่ช่องไม่ลงคะแนน
5. 
หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองทีละใบ ต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง


หน้าที่ของรัฐบาลไทย
       1.ป้องกันและรักษาความสงบของประเทศเพื่อให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขรัฐบาลจำเป็นต้องจัดให้มีทหาร ตำรวจ และตุลาการ เพื่อให้การปฏิบัติกิจการต่างๆ เป็นไปตามกฎหมายตลอดจนให้บริการด้านอื่น ๆ แก่ประชาชน โดยมีข้าราชการเป็นผู้ดำเนินงาน
      2.ให้บริการที่จำเป็นแก่สังคมบริการบางอย่างเอกชนไม่สนใจทำหรือไม่สามารถทำให้เป็นผลดีแก่สังคมส่วนรวมได้ เช่น การลงทุนสร้างถนน  การชลประทาน การประปา การท่าเรือ การไปรษณีย์ และโทรเลข เป็นต้นบริการที่จำเป็นแก่สังคมเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องจัดทำและมีบางอย่างที่รัฐบาลสนับสนุนให้เอกชนจัดทำ
     3.ส่งเสริมและควบคุมการผลิตการจำหน่ายเพื่อชักจูงให้เอกชนสนใจลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวม และ การนำทรัพยากรบางอย่างออกมาใช้ทำประโยชน์และมีผลตอบแทนสูง เช่นการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้การขุดหาแร่ธาตุต่างๆมาใช้ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลจะต้องคอยควบคุมดูแล หรือตั้งหน่วยงานเข้าดำเนินการเสียเอ เพราะทรัพยากรเหล่านี้เป็นของทุกคนในชาติ รัฐบาลจึงต้องเข้าดำเนินการหรือควบคุมเก็บค่าสัมปทานค่าภาคหลวงเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้นำมาใช้จ่ายพัฒนาประเทศให้ผลประโยชน์ตกแก่ทุกคนในชาติ
    4. ดำเนินการกระจายรายได้ของบุคคลรัฐบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางจัดเก็บภาษีอากรจากผู้มีรายได้สูงแล้วนำมาใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ ดูแลอุปการะคนที่ยากจน คนป่วย คนชรา เด็กอนาถา ให้การศึกษาเพื่อให้ทุกคนมีสิ่งของอุปโภคบริโภคตามความจำเป็นแก่การครองชีพได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย และได้รับ การศึกษาอย่างน้อยในระดับการศึกษาภาคบังคับ










ประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาล
    1.ความสามารถในการตอบสนอง ตรงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
    2.ความสามารถในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ หมายความว่า เมื่อรัฐบาลกำหนดนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะมีผลผูกพันกับรัฐมนตรีทุกคนในคณะรัฐบาลที่จะต้องนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติให้เกิดผล หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
    3.ความสามรถในการติดตามและควบคุม การนำนโยบายที่ได้หมอบหมายให้กระทรวง กรมต่างๆ รับไปปฏิบัติ
    4.ความสามารถในการประสานงาน  นอกจากจะหมอบหมายให้หน่วยงาน ต่างๆ รับนโยบายไปปฏิบัติจัดทำแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องมีความสามารถในการประสนงานให้กระทรวงต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดหมายอย่างเดียวกัน
ความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชน
    1.รัฐบาลแถลงผลงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและแจ้งผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับรู้เป็นระยะๆ
    2.ประชาชนตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลได้ โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะตั้งกระทู้ถามคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลให้ชี้แจงการกระทำที่บกพร่อง ข้อขัดข้อง ข้อข้องใจในการทำงานของรัฐบาลหรือรัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐ ถ้าหากรัฐมนตรีหรือรัฐบาลกระทำหน้าที่ผิดพลาด หรือไม่มีผลงาน สภาผู้แทนราษฎรอาจจะเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายคนหรือรัฐบาลทั้งคณะก็ได้
    3.ประชาชนอาจจะตรวจสอบหรือแสดงปฏิกิริยาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล ด้วยการร้องเรียนโดยตรง เช่น การเดินขบวนประท้วงอย่างสงบและปราศจากอาวุธ การแสดงความคิดเห็นในรูปของการประชุมสัมมนา การอภิปราย การเขียนบทความแสดง ความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เป็นต้น การตรวจสอบรัฐบาลดังกล่าวถือว่าเป็นหน้าสำคัญยิ่งของพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย










ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
บทบาทของรัฐต่อประชาชน
        การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยประชาชน หมายความว่า ตัวแทนที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ในปกครองจะต้องใช้อำนาจในการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน จะใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนเองและพรรคพวกไม่ได้ถ้าเมื่อใดปรากฏว่าผู้แทนที่เข้ามาทำหน้าที่ในการปกครองไม่ได้ใช้อำนาจเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถถอดถอนผู้ปกครองได้ทุกโอกาส                                                                  
      ระบอบประชาธิปไตยนอกจากจะประกอบด้วยเอกลักษณ์ที่สำคัญดังกล่าวแล้วในฐานะที่ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมือง   ดังนั้นความสมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจึงมีความสัมพันธ์ดังนี้                                                                             
     1.อำนาจอธิปไตยของปวงชน ระบอบประชาธิปไตยยึดถือหลักแห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นเสมือน หัวใจของระบบการเมือง กล่าวคือ ประชาชนเท่านั้นที เป็นเจ้าของอธิปไตยที่แท้จริงโดยแสดงออกด้วยการใช้สิทธิในกรบวน การเลือกตั้ง ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิจารณาเลือกตัวแทนให้เข้ามารับผิด ชอบหน้าที่ในการปกครองรัฐการแสดงออกดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งการเลือกตั้งผู้แทนให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการถอดถอนออกจาก ตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นหลักประกันว่าประชาชนจะได้ผู้ นำทางการเมือง มีทั้งความสามารถและมีคุณธรรม ซึ่งจะแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิผล และจะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีและมีคุณค่าให้แก่ประชาชน ในทางกลับกันถ้าปรากฏว่าผู้นำทางการเมือง ไม่ได้มีความสามารถและไม่มีคุณธรรม ผู้นำทางการเมืองไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้ และไม่สามารถสร้างสรรค์ชีวิดที่ดีให้กับประชาชน ประชาชนสามารถใช้อำนาจถอดถอน และจัดให้มีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่มาทดแทนได้
    2. เสรีภาพ ระบอบ ประชาธิปไตยยึดมั่นว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่เสรีภาพ เสรีภาพจึงมีคุณค่าสำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เสรีภาพของประชาชนจึงเป็นเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมือง ซึ่งอาจจำแนกพิจารณาได้ดังนี้                        
    1)เสรีภาพทางการเมือง ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีเสรีภาพทางการเมืองจะต้องมีเสรีภาพทางการเมืองอย่างเสมอภาคทั่วหน้ากัน การใช้เสรีภาพทางการเมืองเป็นการแสดงออกถึงการเป็นเจ้าของอำนาจ อธิปไตยของประชาชน เสรีภาพทางการเมืองที่สำคัญมีหลายประการ    ได้แก่                        (1) การใช้สิทธิเลือกตั้งหรือถอดถอนผู้ปกครองหรือผู้นำประชาชนมีเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันทั้งในการเลือกตั้งและถอดถอนผู้ปกครองหรือผู้นำทางการเมืองการใช้เสรีภาพในการกำหนดตัวผู้ปกครองจึงมีความสำคัญสูงสุดสำหรับประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เพราะการบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตที่ดีของประชาชนขึ้นอยู่กับ ผลของการเลือกตั้งผู้นำว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมเพียงใด ถ้าประชาชนใช้เสรีภาพในการกำหนดว่าผู้ปกครองด้วยความเป็นเหตุเป็นผลด้วยความรู้และความเข้าใจถึงภารกิจของผู้ที่จะมาเป็นผู้ปกครอง จะทำให้ประชาชนมีโอกาสที่จะได้ผู้นำที่ดีมารับใช้ประชาชน เพื่อสนองตอบคุณประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง       
(2) การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง  ระบอบ ประชาธิปไตยส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางการเมืองอย่าเสรี เพื่อให้พรรคการเมืองนำเสนอนโยบายและแนวทางในการสร้าสรรค์สังคม ที่ดีให้แก่ประชาชน และประชาชนมีเสรีภาพที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนนิยมหรือเห็นด้วยนอกจากนี้ ประชาชนยังมีเสรีภาพที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของพรรคการเมือง เพื่อเผยแพร่ความนิยมในหมู่ประชาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วย เช่น การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือชมรมทางการเมืองตลอดจนกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น                                                
 (3)การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง ประชาชนมีเสรีภาพทางการพูด การเขียน และเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆทั้งวิทยุ  โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ ซึ่งเสรีภาพดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญของประชาชนที่จะทำการควบคุม    กำกับ           และ ตรวจสอบผู้ปกครอง อนึ่ง เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองมีความหมายครอบคลุมถึงเส รีภาพในการขุดคุ้ยและเปิดโปงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของผู้นำทางการเมืองอีกด้วย  ซึ่งเป็นเสรีภาพ ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เพื่อประชาชนจะไดรู้ว่าผู้นำทางการเมืองคนใดมีพฤติกรรมที่เหมาะ สมหรือไม่เพียงใด เพราะผู้นำทางการเมืองนั้นนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามา รถแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมได้อย่างภาคภูมิ ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตยจึงมั่นใจได้ว่าภายใต้กระบวนการการใช้เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนยิ่งประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะกลั่นกรองและควบคุมกำกับให้ได้ผู้นำทางการเมืองที่ดี ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น                                                                     
 (4) การชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมือง  การชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนมีเสรีภาพที่จะนัดชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งใน การส่งเสริมและสนับสนุน หรือคัดค้านนโยบายและการกระทำของรัฐบาล เสรีภาพเหล่านี้ถือว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองที่จะต้องได้รับการเคารพและยอมรับ ตามกฎหมายผู้ใดจะใช้อำนาจปิดกั้นหรือยับยั้งไม่ได้ ทั่งนี้เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งการเรียกร้องความต้องการ หรือสนับสนุนจากประชาชน
      2)เสรีภาพในทรัพย์สิน ประชาชนมีเสรีภาพในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เสรีภาพในทรัพย์สินเป็นปัจจัยส่งเสริมก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้ที่มีความสามารถในการขยายทรัพย์สินของตนให้มากขึ้นย่อมก่อให้เกิดการสร้างงาน การขยายการสร้างงานก่อให้เกิดการกระจายรายได้ ดังนั้นความสามารถในการเพิ่มพูนทรัพย์สินจึงเป็นพลังในการสร้าง สรรค์ชีวิตที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชน



การจัดตั้งรัฐบาล
      เนื่องจากรัฐบาลมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงบัญญัติให้ใช้วิธีการตั้งรัฐบาลอย่างเปิดเผยและเป็นที่รับรู้ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆ ทุดคน โดยไม่ปล่อยให้แกนนำของพรรคการเมืองรีบไปตั้งรัฐบาลกันทันทีหลังจากทราบผลการเลือกตั้งทั่วไปเหมือนในอดีต
      ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 172 จึงบัญญัติให้สภา-ผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภ














การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐธรรมนูญ
หมวด ๑๒   การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ ๑    การตรวจสอบทรัพย์สิน
มาตรา ๒๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง
(
๑) นายกรัฐมนตรี
(
๒) รัฐมนตรี
(
๓) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(
๔) สมาชิกวุฒิสภา
(
๕) ข้าราชการการเมืองอื่น
(
๖) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
บัญชีตามวรรคหนึ่งให้ยื่นพร้อมเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมาการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองให้รวมถึงทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมด้วยมาตรา ๒๕๑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๒๕๐ให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่ยื่นบัญชีดังกล่าว และต้องยื่นภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(
๑) ในกรณีที่เป็นการเข้ารับตำแหน่ง ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง
(
๒) ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตำแหน่ง ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
(
๓) ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๒๕๐ ซึ่งได้ยื่นบัญชีไว้แล้ว ตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นจากตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นตาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตายผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง นอกจากต้องยื่นบัญชีตาม (๒) แล้วให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย
มาตรา ๒๕๒ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาให้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีดังกล่าว บัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นจะเปิดเผยได้ต่อเมื่อการเปิดเผยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาด และได้รับการร้องขอจากศาลหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวโดยเร็ว
มาตรา ๒๕๓ ในกรณีที่มีการยื่นบัญชีเพราะเหตุที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดพ้นจากตำแหน่งหรือตาย ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งนั้น แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ รายงานดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไปและให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๒๖๓ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา ๒๕๔ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นตามมาตรา ๒๕๑ หรือนับแต่วันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณีเมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป และเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๐มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้นั้นต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยมาตรา ๒๕๕ บทบัญญัติมาตรา ๒๕๐ มาตรา ๒๕๑ มาตรา ๒๕๒ วรรคสองและมาตรา ๒๕๔ วรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดด้วยโดยอนุโลมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอาจเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบที่มีการยื่นไว้แก่ผู้มีส่วนได้เสียได้ ถ้าเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือการวินิจฉัยการกระทำความผิด ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ส่วนที่ ๒   การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์มาตรา ๒๕๖ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง
(
๑) ไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น
(
๒) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(
๓) ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติกับบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ
(
๔) ไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวบทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดินให้นำความใน (๒) (๓) และ (๔) มาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภานั้น ที่ดำเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาให้กระทำการตามมาตรานี้ด้วยมาตรา ๒๕๗ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องดังต่อไปนี้

(
๑) การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
(
๒) การบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ
(
๓) การให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมืองพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่หรือราชการส่วนท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่งมาตรา ๒๕๘ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕๖ มาใช้บังคับกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งหรือดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจะดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มิได้ด้วยมาตรา ๒๕๙ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะกระทำการใดที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๗ มิได้ เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติมาตรา ๒๖๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวบทบัญญัติมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕๐ วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น